วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

 วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้

  • เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  • เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
  • ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
  • ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
  • งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  • เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  • ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  • ควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม
  • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

 


วิธีดูความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 มากน้อย

จากข้อมูลของทาง กรมควบคุมโรค มีรายละเอียดดังนี้

  • สำหรับคนที่เสี่ยงน้อยไปมาก  กลุ่มคนที่เสี่ยงน้อยจะไม่มีอาการไข้หวัดใดๆและไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยง ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง  ดังนั้นกลุ่มคนกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด
  • สำหรับคนที่เสี่ยงเล็กน้อย ทำให้มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยง ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง  ดังนั้นตัวท่านจำเป็นต้องเฝ้าสังเกตอาการของตัวเอง หากไม่ดีขึ้นใน 48 ชั่วโมง ควรพบแพทย์
  • สำหรับคนที่มีความเสี่ยง แต่ไม่มีอาการไข้หวัดใดๆ มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยง เคยใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง  ตัวท่านควรกักตัวเองอยู่ในบ้าน 14 วัน ไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่นและควรจะต้องสวมหน้ากากอนามัย หากเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ควรรีบไปพบแพทย์ ตาม โรงพยาบาลที่รับตรวจในประเทศไทย
  • สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมาก โดยท่านมีอาการคล้ายไข้หวัด มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศในกลุ่มเสี่ยงหรือเคยใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ท่านจะต้องหลีกเลี่ยงการใกล้ชิด-ใช้ของร่วมกับคนอื่น สวมหน้ากากอนามัย และควรรีบไปพบแพทย์ ตาม โรงพยาบาลที่รับตรวจในประเทศไทย



ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-19 ฯ

 ข้อมูลการระบาดของโรค Covid-19  ฯ

      สถานการณ์ COVID-19 ยังคงขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงในบ้านเราเองด้วย ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เราอยากให้มาทำความรู้จักโรค COVID-19 ให้กระจ่าง พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความรุนแรงของโคโรนาไวรัส เชื้อนี้ทำลายปอดได้แค่ไหน มาเช็กเลย
COVID-19 คืออะไร
      โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรค




ไวรัสกระจายสู่คนได้อย่างไร?

      ไวรัสตัวนี้สามารถกระจายจากคนสู่คนภายในระยะ 6 ฟุต หรือเกือบ 2 เมตร (หากนึกไม่ออก 1 เมตร มีความยาวคร่าวๆประมาณ 1 ช่วงแขน) ผ่านทางสารคัดหลั่งซึ่งมาจากการไอ หรือจาม เช่น น้ำมูก หรือ น้ำลาย ได้ ฉะนั้น นอกจากไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงแล้ว เราไม่ควรที่จะสัมผัสใบหน้าของตัวเราเอง และล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ เพราะมือของเราอาจมีเชื้อไวรัสปนเปื้อน และอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้




ข้อมูลมีค่า

ข้อมูลมีค่า

เคยมีคำกล่าวว่า “ใครครองเทคโนโลยี คนนั้นครองโลก”

แต่ผมอยากจะเติมอีกคำหนึ่งที่ว่า “ใครยึดครองข้อมูลและใช้ประโยชน์จากมันได้ คนนั้นจะเข้าไปครองใจคนทั้งโลก” เพราะข้อมูลมีค่าเกินกว่าที่เราคิด

มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะพฤติกรรมและนิสัยของคนไทยหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะคล้ายกันคือใช้ “การจำ” ผ่านเรื่องเล่าต่อๆกันมา ดังนั้นการพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยนในชุมชน ตลาด งานบุญ ร้านเหล้า ร้านกาแฟ ตลอดจนการซุบซิบนินทาน่าจะเป็นวิธีการถ่ายทอดที่ใช้กันบ่อย ซึ่งแน่นอนเป็นการส่งสารที่ไม่เป็นทางการนัก แต่นักการตลาดก็นำมาใช้อย่างได้ผลที่เรียกว่า Viral Marketing แต่เมื่อผ่านคนมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องราวมักจะบิดเบือนหรือมีการใส่สีตีไข่ไปจากเดิม ในขณะที่ชนชาติตะวันตก มักจะชอบอ่านชอบ “การจด” ไปเจออะไรมาก็จะบันทึก การบันทึกเกิดขึ้นตลอดเวลาเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิต จนกลายเป็นลักษณะเด่น ระหว่างวัฒนธรรมการจำ หรือ Memory กับวัฒนธรรมการจด หรือ Diary ยิ่งนานวันพบยิ่งค้นพบว่า “ข้อมูล” มีค่าและมีความจำเป็น ก็ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกลืมเลือนสิ่งที่น่าสนใจในอดีต ยิ่งผ่านมานานวัน ยิ่งจำอะไรได้เลือนลางเหลือเกิน นั่นเพราะไม่ได้รับการปลูกฝังให้จด ในขณะที่ฝรั่งต่างชาติมักจะมีสมุดเล่มเล็กๆไว้จดบันทึกเรื่องราวประจำวันตั้งแต่เด็ก แล้วยังเก็บไว้จนโตที่เรียกว่า สมุดไดอารี่







Big Data

 Big Data

      ปัจจุบัน เราทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น You tube, Facebook, Twitter, Google, Netflix, Walmart, Starbucks สิ่งหนึ่งที่ทำให้โซเชียลมีเดียเหล่านี้ประสบความสำเร็จ คือ Big Data เป็นการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้จากการให้บริการมาใช้วิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจ ใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ทั้งการพัฒนาด้านการขายและการตลาด การปรับปรุงสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงภาคการผลิตที่นำข้อมูล Big Data ไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่ม Productivity ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงาน

       Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่

Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

  • ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
  • ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
  • Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้
การใช้ประโยชน์จาก Big Data

     ในปัจจุบันนี้ การนำ Big Data มาใช้ในภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยนำข้อมูลในระบบราชการจากหลายหน่วยงาน เช่น ข้อมูลสาธารณสุข ทะเบียนราษฎ์ ที่ตั้งของธุรกิจ โรงพยาบาล สถานบำบัด สถานการณ์จ้างงานฯ มาวิเคราะห์และการเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของภาครัฐ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อตอบการให้บริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่แทนที่จะช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนที่เท่าๆ กันแบบปูพรมทั้งประเทศ ก็นำ Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาใช้ชี้จำเพาะว่าบุคคลใดที่ถือว่ามีรายได้น้อย พร้อมทั้งกำหนดระดับและลักษณะความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ผู้มีรายได้น้อยที่สูงอายุ เป็นผู้พิการ อยู่กับบ้าน ให้ลูกหลานดูแล รัฐอาจช่วยโดยสนับสนุนขาเทียม ให้คูปองเข้ารับการทำกายภาพบำบัด  พร้อมทั้งเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับกายภาพของผู้สูงอายุ

     การฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งจับคู่กับแหล่งงานที่อยู่ใกล้เคียงกับที่พักอาศัย อีกทั้งยังติดตามและเสนอโอกาสฝึกอาชีพใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์ดูจะเห็นว่า ข้อมูลจำนวนมากเกิดการบูรณาการและวิเคราะห์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจในการให้บริการของภาครัฐได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้จากการใช้บัตรประชาชนเพียงบัตรเดียวก็สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากขึ้น

     Big Data สำหรับภาคเอกชนที่นำมาใช้ประโยชน์ เช่น เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ช ที่จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และมีระบบที่ทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าลูกค้าจะต้องการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติบนหน้าเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ชของลูกค้ารายนั้นๆ ทั้งนี้ ลูกค้าแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องนำเสนอสินค้าเดียวกัน จากการสังเกตพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่าภาคเอกชนจะมีการเก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เพศ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการซื้อสินค้า ชนิดสินค้า เวลาที่ซื้อ มูลค่าสินค้า นำมาวิเคราะห์จับคู่กับสินค้าอื่นที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ เงื่อนไขหรือสูตรการจับคู่อาจแตกต่างกันไป ตามกลุ่มลูกค้าหรือประชากรในแต่ละประเทศ หรือตามกลุ่มสังคมหรือวัฒนธรรม

     นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้นำข้อมูล Big Data มาใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับธุรกิจ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแชทบอท Chatbot ที่สามารถรับมือกับความต้องการข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาจำนวนมหาศาลผ่าน Messaging Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ฉับไว พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการให้บริการที่จะเข้ามาใช้งานแทนคน (Agent)

     แม้ว่าเรื่องราวของ Big Data ฟังดูแล้วยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในระหว่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน ไปจนถึงการปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อการจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายรัฐหรือเอกชนให้สอดคล้องกับการทำ Big Data ด้วยหรือไม่? จะทำได้สำเร็จหรือไม่? สารพัดเรื่องที่จะเกิดขึ้น






























ฟอร์มของนางสาวบุษกร ครูทอง

กำลังโหลด…